วิธีการป้องกันภัยร้ายบนโลกออนไลน์


เมื่อโลกอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น ภัยร้ายก็มาเยือนถึงตัวได้แบบไม่เว้นวัน นำเสนอเทคนิคป้องกันภัยคุกคามออนไลน์ ที่ใครก็ทำได้ มาให้รับทราบกัน ดังนี้

1. ตั้งสติก่อนเปิดเครื่อง ก่อนเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้รู้ตัวเสมอว่าเราอยู่ที่ไหน ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่สาธารณะ และระมัดระวังการใช้งานคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่อง คือก่อน Login เข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ ต้องมั่นใจว่าไม่มีใครแอบดู Password ของเราได้ เมื่อไม่ได้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ควรล็อคหน้าจอให้อยู่ในสถานะที่ต้องใส่ค่า Login ป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้อย่างสะดวก อย่าประมาทในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ตระหนักไว้ว่าข้อมูลความลับและความเป็นส่วนตัวของเราอาจถูกเปิดเผยได้เสมอใน โลกออนไลน์ แม้เราจะระมัดระวังมากเพียงใดก็ตาม
2. กำหนด Password ที่ยากแก่การคาดเดา ควรมีความยาวไม่ต่ำกว่า 8 ตัวอักษร และใช้อักขระพิเศษ ไม่ตรงกับความหมายในพจนานุกรม เพื่อให้เดาได้ยากมากขึ้น และการใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป เช่น การ Login ระบบ e-mail , ระบบสนทนาออนไลน์ (chat) ระบบเว็บไซต์ที่เราเป็นสมาชิกอยู่ ทางที่ดีควรใช้ password ที่ต่างกันบ้างพอให้จำได้ หรือมีเครื่องมือช่วยจำ password เข้ามาช่วย
3. สังเกตขณะเปิดเครื่อง ว่ามีโปรแกรมไม่พึงประสงค์รันมาพร้อมๆ กับการเปิดเครื่องหรือไม่ ถ้าดูไม่ทัน ให้สังเกตระยะเวลาบูตเครื่อง หากนานผิดปกติ อาจเป็นไปได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ติดปัญหาจากไวรัส หรืออื่นๆได้
4. หมั่นตรวจสอบและอัพเดต OS หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ ให้เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน โดยเฉพาะโปรแกรมป้องกันภัยในเครื่อง และควรใช้ระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฏหมาย นอกจากนี้ควรอัพเดตอินเตอร์เน็ตบราวเซอร์ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ เนื่องจาก Application Software สมัยใหม่มักพึ่งพาอินเตอร์เน็ตบราวเซอร์ ก่อให้เกิดช่องโหว่ใหม่ๆ ให้ภัยคุกคามเจาะผ่านบราวเซอร์ สร้างปัญหาให้เราได้
5. ไม่ลงซอฟต์แวร์มากเกินจำเป็น จนเกินศักยภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่จำเป็นต้องลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่
– อินเตอร์เน็ตบราวเซอร์ เพื่อใช้เปิดเว็บไซต์ต่างๆ
– E-mail เพื่อใช้รับส่งข้อมูลและติดต่อสื่อสาร
– โปรแกรมสำหรับงานด้านเอกสาร, โปรแกรมตกแต่งภาพ เสียง วิดีโอ
– โปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
หากจำเป็นต้องใช้โปรแกรมอื่น ควรพิจารณาใช้โปรแกรมที่ผ่าน Web Application เช่น Chat, VoIP เป็นต้น หรือบันทึกโปรแกรมลงบน Thumb Drive เพื่อรันจากภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์
6. ไม่ควรเข้าเว็บไซต์เสี่ยงภัย เว็บไซต์ประเภทนี้ ได้แก่
– เว็บไซต์ลามกอนาจาร
– เว็บไซต์การพนัน
เว็บไซต์ที่มีหัวเรื่อง “Free” แม้กระทั่ง Free Wi-Fi ที่เราคิดว่าได้เล่นอินเตอร์เน็ตฟรี แต่อาจเป็นแผนของ Hacker ให้เรามาใช้ระบบ Wi-Fi ก็เป็นได้ ให้คิดเสมอว่า “ไม่มีของฟรีในโลก” หากมีการให้ฟรีก็ต้องของต่างตอบแทน เช่น โฆษณาแฝง เป็นต้น
7. สังเกตความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่ให้บริการธุรกรรมออนไลน์ เว็บไซต์
8. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวลงบนเว็บ Social Network ชื่อที่ใช้ควรเป็นชื่อเล่นหรือฉายาที่กลุ่มเพื่อนรู้จัก
9. ศึกษาถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้สื่ออินเตอร์เน็ต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฯ โดยมีหลักการง่ายๆ ที่จะช่วยให้สังคมออนไลน์สงบสุข คือ ให้คิดถึงใจเขาใจเรา  หากเราไม่ชอบสิ่งใด ก็ไม่ควรทำสิ่งนั้นกับผู้อื่น เวลาแสดงความคิดเห็นบนกระดานแสดงความคิดเห็น (Web board), การรับส่ง e-mail, หรือการกระทำใดๆ กับข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต

This entry was posted in อินเตอร์เน็ต and tagged , . Bookmark the permalink.

Comments are closed.