การเสริมภูมิคุ้มกัน รู้ทันภัยออนไลน์ให้กับเยาวชน

เยาวชนกับภัยออนไลน์
ภัยออนไลน์กำลังมาแรงในสังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่อินเทอร์เน็ตกลับกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตไปเสียแล้ว ดังนั้น เมื่อหลีกเลี่ยงการใช้อินเทอร์เน็ตไม่ได้ เราควรจะเสริมภูมิคุ้มกันภัยออนไลน์ให้เยาวชนได้อย่างไรนั้น

ทำไมเด็ก ๆ ถึงเข้าไปในโลกเสมือนจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ แทนที่จะใช้เวลาว่างในโลกของความเป็นจริง โลกเป็นอย่างนี้นี่ครับ เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนไปจากการใช้อย่างอื่น ถ้าสมัยก่อนเด็ก ๆ คงจะเล่นตั้งเต ต่อมาก็เล่นโยนห่วง แล้วก็เล่นปิงปอง เด็กจึงต้องใช้อะไรใหม่ ๆ ที่เขาใช้กัน คือเป็นการใช้เวลาว่างตามยุคสมัย ที่สังคมเปลี่ยน เพราะคนไม่ค่อยมีเพื่อนบนพื้นโลก แต่สามารถหาเพื่อนบนเน็ตได้ อยู่ที่โรงเรียนอาจรูปชั่วตัวดำขาเป๋ แต่พออยู่บนเน็ตจะสร้างภาพอย่างไรก็ได้ ภัยออนไลน์ที่มาแรงตอนนี้มีอะไรบ้าง เยอะแยะ ตั้งแต่ โป๊ ขายของ ฉ้อโกง หลอกหลวง การที่เยาวชนตกเป็นเหยื่อของภัยออนไลน์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นความอ่อนแออะไรของสังคมบ้าง สังคมอ่อนแอ เพราะสถาบันครอบครัวอ่อนแอลง ทุกคนเน้นเป้าเรื่องบริโภคนิยม ดูแล เจ้านาย ดูแลลูกค้า ดูแลใครต่อใครยกเว้นดูแลลูก เด็ก ๆ จึงขาดความรัก เด็กอยู่ที่บ้าน ไม่มีคนทักว่ากินข้าวหรือยัง วันนี้ยิ้มบ้างหรือเปล่า แต่ตัวสวยไหม พ่อแม่ไม่เคยสนใจ แต่พอเข้าเน็ต มีคนให้ความสนใจ ไต่ถาม เขาก็ติดใจ อยากเข้าไปพูดคุยด้วยเรื่อย ๆ ครูและผู้ปกครองควรจะดูแล ป้องกันภัยออน์ไลน์นี้ได้อย่างไร ควรจะรู้จักภัยเหล่านี้ รู้ให้ทัน เพื่อที่จะไปดูแลเด็ก อย่าอ้างว่าแก่ไม่ทันเรียน

ต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
ตำราเรียนคอมพิวเตอร์ น่าจะสอนเด็ก ๆ ถึงเรื่องภัยออนไลน์นี้ไหม ก็ควรต้องทำตรงนี้ สอนให้เด็กรู้ถึงภัยของการออนไลน์ ตราบใดที่ยังสอนวิธีใช้คอมพิวเตอร์ ต้องสอนวิธีป้องกันภัยด้วย ทุกวันนี้หลักสูตรทุกอย่างมีแต่การใช้ไอที แต่มีมีหลักสูตรป้องกันภัยจากไอที

สื่อออนไลน์ที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชนไทย มีมากพอและมีคุณภาพเพียงพอหรือยัง มีเยอะ เช่น วิกิพีเดีย ภูมิปัญญาไทย ธรรมะออนไลน์ก็มี ขึ้นอยู่กับว่าเด็ก ๆ จะมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตกันอย่างไร ในส่วนของเด็กติดเกมคิดว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรดี จริง ๆ แล้ว เราทำให้มีประโยชน์ก็ได้ ทำเกมดี ๆ ให้สนุกและมีความรู้ ตอบคำถามได้ ถ้าเด็ก ๆ จะติดเกม ก็อยากให้ติดเกมที่มีคุณภาพ ที่ให้ความรู้กับเขาด้วย ก็น่าจะทำได้ แต่ต้องหาทางแก้ตรงที่ควบคุมระเบียบวินัยการเล่น ให้เด็กรู้เวลาเล่น รู้เวลาเลิก การปราบปรามสืบสวนคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษส่วนใหญ่เกี่ยวกับอะไร ในส่วนของผมเน้นติดตามคดีสำคัญ เช่น คดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง สถาบันกษัตริย์ ขโมยโดเมนเนม ฉ้อโกงรายใหญ่ ส่วนคดีเล็ก ๆ เช่น เว็บโป๊ให้ทางตำรวจจัดการกันเอง การแก้ปัญหาของผมคือการแก้ที่ปลายเหตุ ส่วนการแก้ปัญหาต้นเหตุที่สำคัญคือครอบครัวมากกว่า นอกจากนั้นโรงเรียนและสื่อมวลชนต้องช่วยกันด้วย คดีที่สะเทือนใจหรือประทับใจ ผมสะเทือนใจตอนที่จับผู้หญิงโชว์เปลือยในอินเทอร์เน็ต เพื่อต้องการความเห็นใจ ความรัก ความเอื้ออาทร แต่พอเกิดการจับกุม แล้วผู้สื่อข่าวมาทำข่าว เขาบอกว่าไม่อยากใส่หมวก อยากเปิดหน้าไปเลย เพื่อให้พ่อแม่ที่ทอดทิ้งเขาหันมาดูว่าสิ่งที่ทำให้ลูกตอนนี้ ผลที่ได้เป็นอย่างไร ในการทำงานผมไม่มีเรื่องประทับใจ มีแต่สะเทือนใจมากกว่า

ผู้ใหญ่ควรทำอย่างไร
ผู้ใหญ่ต้องมาทบทวนและทำอะไรกันบ้าง ให้สนใจถึงพิษภัยของอินเทอร์เน็ตด้วย ไม่ใช่บอกแต่ประโยชน์อย่างวเดียว สอนวิธีป้องกันภัยจากเน็ตให้บุตรหลานด้วย บางคนเล่นเว็บแคมฟร๊อกตั้งนาน ก็ยังไม่รู้เลยว่ามีการsave ข้อมูล saveภาพที่ตัวเองเล่นบนหน้าจอได้ วิธีป้องกันตัวเองจากอินเทอร์เน็ต เช่น การแชท อย่าบอกข้อมูลส่วนตัว อย่าให้เขาเห็นหน้า อย่าบอกบ้านเลขที่ เบอร์โทร อีเมล์ โรงเรียน ถึงสนิทสนมแค่ไหนก็ไม่ควรบอก คนส่วนใหญ่รู้จักบนเน็ตก็แต่ตัวอักษร คุยกันมาสามปีสี่เดือนก็แค่ตัวอักษรเท่านั้น ถ้าเขาบอกอย่างไรก็ไม่ควรเชื่ออย่างนั้น คนที่คบบนเน็ตหาความจริงยาก อย่าเชื่อดีกว่า ให้คำนึงถึงว่าคนบนเน็ตเป็นอะไรก็ได้ทั้งหมดแล้วแต่เขาจะปั้นแต่งตัวเอง และที่สำคัญ พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้เวลากับบุตรหลานมาก ๆ อย่าปล่อยให้เขาอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตคนเดียว ก็เหมือนกับการปล่อยให้บุตรหลานไปเที่ยวห้าง หรือสนามหลวงคนเดียวนั่นแหละ อาจจะพลัดหลงหรือหายไปเลยก็ได้ ใช่แล้ว ?ความรัก ความอบอุ่น และความใส่ใจภายในครอบครัว? สิ่งนี้แหละที่เมื่อจัดการไม่เหมาะสม หรือให้บุตรหลานไม่พอ ก็จะกลายมาเป็นต้นตอของปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างไม่รู้จบสิ้น ดังนั้น ภูมิคุ้มกันที่ดีไม่ว่าจะเป็นภัยออนไลน์ หรือภัยไหน ๆ น่าจะเริ่มจากการที่พ่อแม่ผู้ปกครองให้ความรัก ความเอาใจใส่กับลูก เข้าใจและให้เวลากับลูกบ้าง และที่สำคัญอย่าปล่อยให้บุตรหลายของท่านขาดรัก จนเกิดความเหงา และต้องไปไขว่คว้าหาความรักจากคนในอินเทอร์เน็ตมาเติมเต็มหัวใจที่ว่างเปล่าของพวกเขาแทน เพราะสิ่งที่พวกเขาไขว่คว้ามาได้จากอินเทอร์เน็ต อาจเป็นความรัก ความอบอุ่นใจปลอม ๆ ที่สุดท้ายอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์สะเทือนใจได้โดยไม่คาดคิด

This entry was posted in อินเตอร์เน็ต and tagged , . Bookmark the permalink.

Comments are closed.